วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ประวัติของลีนุกซ์(History of linux)

วันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1991 นักศึกษาชาวฟินแลนด์ Linus Benedict Torvald กำลังศึกษาอยู่ที่ University of Helsinki ได้เขียนข้อความโพสต์ขึ้นไปยังยูสเน็ต comp.os.minix ว่าเขาได้สร้างระบบปฏิบัติการขนาดเล็กที่เหมือนกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ขึ้น ชื่อว่า Linux โดยเป็นการพัฒนาต่อมาจากระบบปฏิบัติการ Minix ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Andy Tanenbaum
อันที่จริง Linux ตัวแรกได้มีการเผยแพร่เฉพาะ source code ไปก่อนหน้านี้ และถือว่าเป็นเวอร์ชั่น 0.01 โดย Linus ได้เปิดให้ดาวน์โหลดได้จาก ftp://nic.funet.fi

Linux ที่เผยแพร่ในครั้งนี้มีเวอร์ชั่น 0.02 ซึ่งผ่านการคอมไพล์แล้ว และสามารถรันเชลล์ bash ( GNU Bourne Again Shell ) และ gcc ( GNU C Compiler ) ได้ รวมทั้งมีความสามารถอื่น ๆ อีกเล็กน้อย ตั้งแต่นั้นมาสิ่งนี้ก็เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับบรรดาผู้ที่มีงานอดิเรกเกี่ยวกับ kernel และ แฮกเกอร์

Linux เริ่มต้นที่เวอร์ชั่น 0.02 พัฒนาขึ้นเป็น 0.03 และกระโดดเป็น 0.10 ด้วยการพัฒนาจากโปรแกรมเมอร์จำนวนมากมายทั่วโลก จนถึงเวอร์ชั่น 0.95 จนกระทั้งออกเป็นเวอร์ชั่น 1.0 อย่างเป็นทางการ ( Official release ) ในเดือนมีนาคม 1992 จากนั้นก็พัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงวันนี้ ( วันที่เขียน ) เคอร์เนล ของ Linux มีเวอร์ชั่นล่าสุดเป็น 2.2.3

ณ วันนี้ Linux เป็นระบบปฏิบัติการประเภท Unix-liked ที่สมบูรณ์ และได้รับความสนใจอย่างสูง ใครเลยจะรู้ว่า โปรเจคของนักศึกษาที่ Torvald สร้างขึ้น จะก้าวขึ้นสู่ระดับ mainstream operating system และเป็นคู่แข่งสำคัญในตลาดซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ เช่นทุกวันนี้

Linux ได้แพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวาง ภายใต้ข้อกำหนดของ Free Software ซึ่งมีหน่วยงานที่ควบคุมเงื่อนไข อย่างเช่น GNU จึงทำให้มีข้อแตกต่าง จากระบบปฏิบัติการอื่น ๆ ที่มีการจำหน่ายเชิงธุรกิจ และมีราคาแพง Linux มีการแปลงโปรแกรมไปสู่แพลตฟอร์มอื่น ๆ นอกจาก i386 ได้แก่ Sparc ,Alpha และ Macintosh ทำให้โปรแกรมเมอร์ทั่วโลกหันมาให้ความสนใจที่จะพัฒนาโปรแกรมขึ้นสนับสนุน Linux มาขึ้น ส่งผลให้ Linux มีซอฟต์แวร์สนับสนุนเป็นจำนวนมาก และส่วนใหญ่จะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีราคาถูก หรือฟรี และเปิดเผยโปรแกรมต้นฉบับ ( Open Source Code ) ตามเงื่อนไขของ GPL ( General Public License )

จากการคาดการของ IDC ( International Data Corporation of Framingham, Messachusette ) แจ้งไว้ว่าการเติบโตของ Linux จะมีส่วนแบ่งตลาด คิดเป็นร้อยละ 17.2 ในปี ค.ศ. 1998 ใน

ช่วง 4 - 5 ปี ที่ผ่านมา มีบริษัทซอฟต์แวร์หลายแห่งได้นำเคอร์เนลของ Linux มารวมเข้ากับซอฟต์แวร์ทั้งแบบฟรี และจำหน่ายเชิงการค้า เกิดเป็น Linux Distribution ต่าง ๆ ขึ้น เป็นจำนวนมากมาย เช่น Redhat ,TurboLinux ,SUSE ,Slackware ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์จากผู้ผลิตเหล่านี้ ช่วยให้การติดตั้ง ใช้งาน สะดวกมากยิ่งขึ้น ในราคาที่คุ้มค่ากว่าระบบปฏิบัติการอื่น ๆ ในปัจจุบัน

( ค.ศ. 2001 ) มีการนำ Linux มาใช้งานในกิจการต่าง ๆ มากขึ้น โดยที่เน้นไปที่งานด้านระบบเซิร์ฟเวอร์ และเครือข่ายเป็นส่วนใหญ่ ส่วนการประยุกต์ใช้งาน Linux เพื่อใช้งานเป็น เครื่องลูกข่าย หรือใช้งานด้านเดสทอปนั้นยังคงเป็นช่วงเริ่มต้นเท่านั้น แต่ก็มีแนวโน้มที่ชัดเจนที่จะพัฒนา Linux เพื่องานเดสทอปมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังเช่น Linux TLE 4.0 ของไทย หรือ Redmond Linux ของทางต่างประเทศ ก็ได้พัฒนา Linux เพื่อใช้งานด้านนี้โดยเฉพาะ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ลีนุกซ์จะเข้ามามีบทบาทในระดับผู้ใช้ทั่วไป และสามารถทดแทนวินโดวส์ได้ในที่สุด

Fedora 12 เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดที่ทางทีมงานนำออกมาให้เราได้ใช้แล้วนะครับ

Fedora 12 เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดที่ทางทีมงานนำออกมาให้เราได้ใช้แล้วนะครับ Fedora เป็นโครงการจัดทำระบบปฏิบัติฟรี เพื่อแจกจ่ายให้เรา ๆ ท่าน ๆ ได้ใช้ฟรี สามารถใช้งานได้ทั้งในรูปแบบ Desktop และ Server ขึ้นอยู่การนำไปใช้งานนะครับ ในเวอร์ชั่น 12 นี้มีการเพิ่ม Packet ใหม่ ๆ เข้าไปมากมายทั้ง Desktop และ Server

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
press release, release announcement และ release notes

สนใจสามารดาวน์โหลดได้แล้วที่
Download (mirrors, torrents)

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Parted Magic 4.3 มาแล้วนะ

Parted Magic 4.3 เป็น Distro Linux ที่สาระพัดประโยชน์ ผมเองไม่เคยนำเสนอตัว Distro นี่เลย คนที่ใช้ Linux หรือช่าง Linux โดยส่วนใหญ่รู้จักเครื่องมือสาระพัดประโยชน์นี้ดี ไม่ว่าจะใช้จัดการ Partition สำรองข้อมูล เรียกคืนข้อมูล และการจัดการ Harddisk อื่น ๆ ในเวอร์ชั่นนี้มีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างไปดูในรายงานของ Distrowatch เลยดังนี้ครับ

"Patrick Verner announced the release of Parted Magic 4.3, a bug fix release of the popular live CD designed for hard disk management tasks: "Not only did some bugs get fixed, but a few new programs were added too. chntpw, nilfs-utils 2.0.12, gdisk 0.2.2, Adblock Plus 1.0.2 are now part of Parted Magic's program line-up. These programs have been updated: udev 143, glib 2.20.4, GTK+ 2.16.4, e2fsprogs 1.41.7, Firefox 3.5, FireFTP 1.0.5, Clonezilla 2.3.3-65, Linux kernel 2.6.30.1, p7zip_9.04, Partclone 0.1.1-15, NDISwrapper 1.55. We also took some time to redo the artwork. Many thanks to Jason Vasquez for heading up this effort. I think it's the best-looking version of Parted Magic yet!" Visit the project's home page to read the full release announcement. Download: pmagic-4.3.iso.zip (92.8MB, MD5)."

Free BSD 8.0 มาแล้ว

FreeBSD 8.0 มาแล้วนะครับ มาเร็วมาก ตามที่ทาง Distrowatch รายงานมีดังนี้ครับ
Ken Smith announced the availability of the first beta release of FreeBSD 8.0: "The first public test build of the FreeBSD 8.0-RELEASE test cycle is now available, 8.0-BETA1. Through the next week or so more information about the release will be posted but here is the current target schedule for the other 'major events': BETA2 July 13, 2009; BETA3 July 20, 2009; RC1 July 27, 2009; RC2 August 17, 2009; RELEASE August 31, 2009. At this point it is not quite ready for production systems but mostly because there is still some ongoing work in a few areas that may cause some changes in things like ABI/API. Debugging supports (WITNESS, malloc debugging, etc.) are also still turned on and those tend to cause a performance hit. As far as we know there are no known issues that would cause data corruption or anything like that, just the issues with performance and potential for changes caused by ongoing work." Read the complete release announcement for further details. Download: 8.0-BETA1-i386-dvd1.iso (531MB, MD5), 8.0-BETA1-amd64-dvd1.iso (636MB, MD5).

PCBSD 7.2 พร้อมแล้ว

PCBSD เป็นระบบปฏิบัติ FreeBSD แบบ Desktop คือเน้นในด้านการใช้งานด้านสำนักงานเป็นหลัก พัฒนามาจาก FreeBSD 7.2 ที่ Stable แล้ว จากรายงานของ Distrowatch แจ้งว่า
The PC-BSD Team is pleased to announce the immediate availability of PC-BSD 7.1.1, a desktop operating system based on FreeBSD 7.2: "Version 7.1.1 contains a number of bugfixes and improvements from PC-BSD 7.1, including KDE 4.2.4, improvements to printing support, Xorg Server 1.6.1, and much more. For a full list of changes, please refer to the changelog. Users who wish to upgrade from PC-BSD 7.0.x / 7.1 are able to do so via the upgrade / repair option during the installation. Software specs: FreeBSD 7.2-Stable, KDE 4.2.4, Xorg 7.4, Nvidia driver 185.18.14, Nvidia driver 173.14.18, Nvidia driver 96.43.11, Nvidia driver 71.86.11." Read the press release, release notes and changelog for more details. Download (MD5): PCBSD7.1.1-x86-DVD.iso (2,030MB, MD5, torrent), PCBSD7.1.1-x64-DVD.iso (2,028MB, MD5, torrent).

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การติดตั้ง VHCS 2.4.7.1

1. แก้ไข /etc/apt/sources.list โดยเพิ่ม
Quote
deb http://apt.scunc.org/ sarge main

2. #apt-get update

3. #apt-get install mysql-server-4.1

4. #apt-get install vhcs

Quote
DEFAULT_ADMIN_ADDRES = your email
SERVER_HOSTNAME = your hostname
BASE_SERVER_IP = your ip
DATABASE_TYPE = mysql
DATABASE_HOST = localhost
DATABASE_NAME = vhcs2
DATABASE_PASSWORD = vhcs2
DATABASE_USER = vhcs

system hostname: your hostname เช่น debian
system network address: your ipaddress เช่น 192.168.0.128
SQL server host: localhost
system SQL database: vhcs2
system SQL user: vhcs2
system SQL password: vhcs2
repeat system SQL password: vhcs2
VHCS ftp SQL user: vftp
VHCS ftp SQL user password: vftp
repeat VHCS ftp SQL user password: vftp
administrator login name: admin
administrator password: your password
repeat administrator password: your password
administrator email address: your email address


5. #apt-get remove apache-common
เนื่องด้วยมันเป็น apache1.3 ซึ่งเราไม่ต้องการจึงต้องทำการลบออกไปซะ รองรับ php3 จะเอาไปทำอันหยัง

6. http://localhost/vhcs2
หากเรียกจากวินโดวส์ผ่าน vmware ต้องใช้เป็น http://your ipaddress/vhcs2 เช่น http://192.168.1.1/vhcs2

การใช้ Pico editor

หากคุณมีความรู้สึกว่า vi มีความยุ่งยากในการใช้งาน และต้องการที่จะใช้เอดิเตอร์ที่มีลักษณะการทำงานที่ง่ายกว่า โปรแกรม pico น่าจะเป็นเอดิเตอร์ที่น่าสนใจสำหรับคุณ ได้ หากคุณเคยใช้ pine ในการส่งอีเมล์แล้ว จะเห็นได้ว่าหน้าจอของ pico นั้นคล้ายคลึงกับ โปรแกรม pine เป็นอย่างมาก
การเรียกใช้ pico สามารถทำได้ดังนี้

pico [ชื่อไฟล์]

เมื่อคุณเรียกใช้ pico โปรแกรมจะมีลักษณะเป็น full screen editor และมีการใช้งาน
ที่ค่อนข้างง่าย คุณสามารถใช้ปุ่มลูกศร, ปุ่ม PgUp , PgDn ในการเลื่อนบรรทัดขึ้นลงได้
และยังแสดงปุ่มพิเศษที่ต้องใช้บ่อย ๆ ที่ด้านล่างของจอภาพด้วย เช่น ปุ่มบันทึกข้อมูลลงไฟล์
( ^O ) , ปุ่มแสดงข้อความช่วยเหลือ ( ^G ) หรือปุ่มจบโปรแกรม ( ^X ) เป็นต้น
ปกติปุ่มฟังก์ชั่นพิเศษที่ใช้ใน pico นั้น จะมีวิธีการใช้งานในลักษณะของการกดปุ่ม
ควบคู่กับปุ่ม Control เช่น ปุ่มแสดงความช่วยเหลือ จะต้องกดปุ่ม Ctrl-G เมื่อลองกดปุ่มนี้
แล้วก็จะปรากฏหน้าต่างแสดงความช่วยเหลือขึ้นมา การจะเลื่อนให้ pico แสดงข้อความ
ช่วยเหลือหน้าถัดไปจะต้องกดปุ่ม Ctrl-V ถ้าจะดูหน้าย้อนกลับหรือทำหน้าที่ผ่านไปแล้วจะ
ต้องกดปุ่ม Ctrl-Y และถ้าจะออกจากหน้าจอแสดงความช่วยเหลือก็ให้กดปุ่ม Ctrl-X คุณจะสามารถอ่านคำอธิบายความหมายของปุ่มพิเศษเหล่านี้ได้จากหน้าจอแสดงความช่วยเหลือ
ปุ่มฟังก์พิเศษอื่น ๆ ที่น่าสนใจใน pico
Ctrl – X (F2) ออกจากโปรแกรม pico ( ถ้ามีการแก้ไขจะถามว่าบันทึกไฟล์ หรือไม่ )
Ctrl – O (F3) บันทึกไฟล์
Ctrl – J (F4) เชื่อมบรรทัดอื่นให้เป็นบรรทัดเดียวกัน
Ctrl – R (F5) อ่านไฟล์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของข้อความที่กำลังแก้ไข เมื่อกด
ปุ่มนี้จะให้คุณใส่ชื่อไฟล์ที่ต้องการ หรือคุณสามารถกดปุ่ม
Ctrl – T เพื่อเลือกไฟล์ที่ต้องการได้ โดยเมื่อกดปุ่ม Ctrl – T
แล้วจะเข้าสู่โหมดของ Browser ซึ่งในโหมดนี้คุณสามารถใช้
ปุ่มลูกศรในการเลือกไฟล์ต่าง ๆ ได้ เมื่อได้ไฟล์ที่ต้องการแล้วก็กดปุ่ม Enter : pico ก็จะแทรกไฟล์ที่เราเลือกไว้เข้าไปในไฟล์เดิมตรงบรรทัดที่เคอร์เซอร์อยู่ และในโหมดของ Browser นี้ ทางตอนล่างก็จะมีรายชื่อ function key ต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือในการใช้งานเช่นเดียวกับหน้าจอหลักของ pico
Ctrl – W (F6) ค้นหาคำที่ต้องการ
Ctrl - ^ ระบายแถบสีเลือกข้อความที่ต้องการ
Ctrl – K (F9) ตัดข้อความที่เลือกไว้ นำไปเก็บในบัฟเฟอร์
Ctrl – U นำข้อความที่อยู่ในบัฟเฟอร์ ออกมาใส่กลับไปในข้อความตรง
ตำแหน่งที่เคอร์เซอร์อยู่ เหมือนกับการ Paste นั่นเอง
Ctrl – C (F11) บอกตำแหน่งปัจจุบันของเคอร์เซอร์
Ctrl – T (F12) เรียกตัวตรวจสอบการสะกดคำ โดยเมื่อกดปุ่ม Ctrl – T แล้วโปรแกรมตรวจสอบการสะกดคำจะตรวจสอบตำต่าง ๆ และหากพบคำที่คาดว่าผิดก็จะแสดงแถบสีตรงคำนั้นและแสดง
prompt ว่า Edit a replacement [ คำที่คาดว่าสะกดผิด ] ซึ่คุณสามารถแก้ไขคำนั้น ได้เลย หรือหากไม่ต้องการแก้ไขก็เคาะ Enter ผ่านไปได้เลย การออกจากโหมดตรวจสอบการสะกดคำนี้ทำได้โดยการกดปุ่ม Ctrl – C
Ctrl – B เลื่อนเคอร์เซอร์กลับไปหนึ่งตัวอักษร
Ctrl – F เลื่อนเคอร์เซอร์ไปข้างหน้าหนึ่งตัวอักษร
Ctrl – P เลื่อนเคอร์เซอร์ย้อนกลับไปหนึ่งบรรทัด
Ctrl – N เลื่อนเคอร์เซอร์ไปบรรทัดถัดไป
Ctrl – A เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังต้นบรรทัด
Ctrl – E เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังท้ายบรรทัด
Ctrl – L รีเฟรชหน้าจอการแสดงผล

การใช้งาน vi

เริ่มต้นใช้งาน
ให้เราพิมพ์ดังนี้ครับ vi ในกรณีเปิดไฟล์ใหม่ แต่ถ้ามีไฟล์เดิมอยู่แล้วก็ให้พิมพ์ vi filename (filename คือชื่อไฟล์ที่เราต้องการจะเปิด)

การใช้งาน
เมื่อเราเปิดโปรแกรม vi ขึ้นมาแล้วอยากพิมพ์ข้อความ เราก็สามารถทำได้ดังนี้ครับ ให้กดปุ่ม I เพื่อทำให้ vi อยู่ในสถานะ Insert Mode ก่อน จากนั้นก็ทำการพิมพ์ข้อความที่ต้องการได้เลยครับ และเพื่อทำให้การพิมพ์ข้อความราบรื่น ผมมีตารางการใช้งานของคำสั่งใน vi มาให้ดูครับ

กดปุ่ม ความหมาย
i, I พิมพ์ข้อความ ณ ตำแหน่งที่เคอร์เซอร์อยู่
A พิมพ์ข้อความต่ออักษรสุดท้ายของบรรทัดที่เคอร์เซอร์อยู่
a พิมพ์ข้อความต่อยังตำแหน่งของเคอร์เซอร์
ปุ่ม insert เปลี่ยนสถานะ พิมพ์ทับ/พิมพ์แทรก
dd ลบข้อความ 1 บรรทัด ที่เคอร์เซอร์อยู่
dw ลบคำหนึ่งคำที่เคอร์เซอร์อยู่
x ลบตัวอักษรที่เคอร์เซอร์อยู่
D ลบตัวอักษรที่เคอร์เซอร์อยู่จนสุดบรรทัด
O เลื่อนบรรทัดที่เคอร์เซอร์อยู่ลง 1 บรรทัด และอยู่ในสถานะ insert
o เลื่อนบรรทัดล่างที่เคอร์เซอร์อยู่ลง 1 บรรทัด และอยู่ในสถานะ insert
l เลื่อนเคอร์เซอร์ไปทางขวา
h เลื่อนเคอร์เซอร์ไปทางซ้าย
k เลื่อนอักษรขึ้นบน
j เลื่อนอักษรลงล่าง
^, home เลื่อนเคอร์เซอร์ไปต้นบรรทัด
$, end เลื่อนเคอร์เซอร์ไปท้ายบรรทัด
w เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังตัวอักษรแรกของตัวถัดไป
b เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังตัวอักษรแรกของคำปัจจุบัน
e เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังตัวอักษรสุดท้ายของคำ
Ctrl+d เลื่อนจอภาพลงครั้งละครึ่งจอภาพ
Ctrl+u เลื่อนจอภาพขึ้นครั้งละจอภาพ
u ยกเลิกการทำงานคำสั่งที่ผ่านมา หรือ undo นั้นเอง
/text ค้นหาข้อความคำว่า text จากบนลงล่าง
?text ค้นหาข้อความคำว่า text จากล่างขึ้นบน
:w ทำการ Save ไฟล์ปัจจุบันที่เปิดใช้งาน
:wq Save ไฟล์งานแล้วออกจากโปรแกรม
:wq fn Save ไฟล์งานโดยตั้งชื่อว่า fn แล้วออกจากโปรแกรม
:q! ออกจากโปรแกรมโดยไม่ทำการบันทึกไฟล์งาน


การใช้งานโปรแกรม VI เราจำเป็นที่จะต้องเข้าใจสถานะ ของโปรแกรมว่าเราทำงานอยู่ในสถานะไหน ดังนั้นเราจำเป็นที่จะต้องสังเกตที่มุมล่างซ้ายให้ดีว่าเราอยู่ใน insert mode หรือ command mode และวิธีการสลับการใช้งานของ mode ทั้งสองเราสามารถกดปุ่ม Esc เพื่อทำการสลับ Mode ได้เลย

ความรู้เกี่ยวกับ IPCop

IPCop เป็น Linux Open Source ที่พัฒนาขึ้นมาเผยแพร่ภายใต้ GNU General Public License และมีเป้าหมายเน้นทางด้านระบบความปลอดภัยของเครือดังข้อความที่ว่า "The Bad Packets Stop Here" เพราะฉะนั้นจึงเหมาะมากที่จะนำมาพัฒนาเป็น Firewall อย่างไรก็แล้วแต่ สำหรับผู้ใช้ที่ไม่ต้องการเน้นเรื่องของ Firewall มากนักเช่นองค์กรขนาดเล็กที่เน้นเรื่องของการทำ Proxy (Squid) หรือทำ NAT เพื่อให้เครื่องลูกข่ายภายในสำนักงานสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ นอกจากนี้Linux ตัวนี้น่านำมาใช้มากครับ เพราะมีขนาดเล็ก (40 MB) กินทรัพยากรน้อย การคอนฟิกก็ง่ายมากเพราะสามารถคอนฟิกผ่าน Browser ได้ การเปิดบริการ Proxy ก็ไม่ยุ่งยากเมื่อติดตั้งเสร็จแล้วสามารถใช้งาน Proxy ได้เลย โดยเฉพาะถ้าต้องการใช้งาน Transparent Proxy ก็ง่ายมากเลยแค่คลิกที่เดียวก็สามารถทำได้แล้ว ในส่วนของ NAT ติดตั้งเสร็จก็มีการทำ NAT ไว้ให้แล้วเช่นกัน

IPCop ได้ออกแบบระบบโดยกำหนด Network Interface เป็นรูปแบบของโทนสีจำนวน 4 สี (4 Network Interface) ดังนี้
- RED Network Interface เครือข่ายส่วนนี้เป็น Internet หรือ Untrusted Network จุดประสงค์หลักของ IPCop คือเพื่อป้องกันเครือข่าย (คอมพิวเตอร์) ในส่วนที่เป็น GREEN , BLUE และ ORANGE จากทราฟฟิกที่มาจาก RED Network
- GREEN Network Interface อินเตอร์เฟสนี้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ภายในซึ่งเป็นส่วนที่มีการป้องกันจาก IPCop
- BLUE Network เครือข่ายส่วนนี้เป็นออพชันให้ผู้ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่เป็น Wireless ที่เป็นเครือข่ายแยก (seperate network) ซึ่งคอมพิวเตอร์ในส่วนนี้ไม่สามารถติดต่อกับเครือข่าย GREEN ได้เว้นเสียแต่ถูกควบคุมแบบ "pinhole" หรือผ่าน VPN ทราฟฟิกที่จะมายังเครือข่ายนี้ถูก route ผ่าน Ethernet NIC
- ORANGE Network เครือข่ายส่วนนี้เป็นออพชันที่อนุญาตให้ผู้ใช้วางเซิร์ฟเวอร์ที่สาธารณสามารถเข้าถึงได้เป็นแบบแยก (seperate network) คอมพิวเตอร์ในส่วนนี้ไม่สามารถติดต่อกับ GREEN หรือ BLUE ได้ เว้นเสียแต่ถูกควบคุมโดย DMZ pinholes ทราฟฟิกที่เข้ามาเครือข่ายนี้ถูก route ผ่าน Ethernet NIC

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คำสั่ง echo

แสดงข้อความออกทาง standard output

โครงสร้างคำสั่ง

echo [option]... msg

โดย option ที่มักใช้กันใน echo คือ
-n ไม่ต้องขึ้นบรรทัดใหม่

ตัวอย่าง

echo -n "Hello"
echo "Hi.."
free -k

คำสั่ง free

แสดงหน่วยความจำที่เหลืออยู่บนระบบ

โครงสร้างคำสั่ง
free [-b|-k|-m]
โดย option ที่มักใช้กันใน free คือ
-b แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย byte
-k แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย kilobyte
-m แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย megabyte

ตัวอย่าง

free
free -b
free -k

คำสั่ง sort

ใช้เพื่อทำการจัดเรียงข้อมูลในแฟ้มตามลำดับ (ทั้งนี้จะถือว่าข้อมูลแต่ละบรรทัดเป็น 1 record และจะใช้ field แรกเป็น key)

โครงสร้างคำสั่ง

sort [option] file

ตัวอย่าง

sort data.txt

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คำสั่ง file

บนระบบ DOS/Windows นั้น ประเภทของแฟ้มข้อมูลจะถูกระบุด้วยนามสกุล แต่ใน UNIX จะไม่มีนามสกุลเพื่อใช้ระบุประเภทของแฟ้มข้อมูล ดังนั้นการหาประเภทของแฟ้มข้อมูลจะดูจาก Context ภายในของแฟ้ม ซึ่งคำสั่ง file จะทำการอ่าน Content และบอกประเภทของแฟ้มข้อมูลนั้นๆ
โครงสร้างคำสั่ง
file [option]... file
ตัวอย่าง
file /bin/sh
file report.doc

คำสั่ง chgrp

ใช้สำหรับเปลี่ยนกลุ่มเจ้าของแฟ้มข้อมูลหรือ Directory
โครงสร้างคำสั่ง
chgrp [option]... group file
โดย option ที่มักใช้กันใน chgrp คือ
-R เปลี่ยน Permission ของทุกๆ แฟ้มย่อยใน Directory
ตัวอย่าง
chgrp users /home/krerk
chown nobody data.txt
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : chgrp --help และ man chgrp

คำสั่ง chown

ใช้สำหรับเปลี่ยนเจ้าของแฟ้มข้อมูลหรือ Directory
โครงสร้างคำสั่ง
chown [option]... owner[:group] file หรือ
chown [option]... :group file
โดย option ที่มักใช้กันใน chown คือ
-R เปลี่ยน Permission ของทุกๆ แฟ้มย่อยใน Directory
ตัวอย่าง
chown krerk:users /home/krerk
chown nobody data.txt

คำสั่ง find

ใช้ในการค้นหาไฟล์หรือไดเรคเทอรี
ตัวอย่างการใช้งาน
ค้นหาไฟล์หรือไดเรคเทอรีที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า ser โดยเริ่มค้นหาจากไดเรคเทอรีปัจจุบัน ( . )
$ cd ~/linux-command
$ find . -name "ser*" -print

คำสั่ง du

ตรวจดูการใช้พื้นท์ของไฟล์และไดเรคเทอรี
ตัวอย่างการใช้งาน
$ du -s *

คำสั่ง df

ใช้ในการตรวจดูการใช้พื้นที่ของฮาร์ดดิสก์
ตัวอย่างการใช้งาน
$ df

ไปป์ (Pipe)

เป็นการเชื่อมต่อกันระหว่าง input กับ output โดย output ของคำสั่งหนึ่ง จะเป็น input ของอีกคำสั่งหนึ่ง จะใช้สัญลักษ์เป็น | (Vertical Bar)

ตัวอย่างการใช้งาน
ตัวอย่างนี้เป็นการหาข้อความ ftp ที่อยู่ในไฟล์ services แต่เนื่องจากว่า มีข้อมูลอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถดูได้ทั้งหมดในครั้งเดียว จึงต้องมีการสร้างไฟล์ขึ้นมาชื่อว่า temp.txt เพื่อใช้ในการเก็บผลลัพธ์ จากนั้นจึงใช้คำสั่ง less เพื่อไปอ่านข้อมูลจากไฟล์ temp.txt จึงจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
$ grep ftp services > temp.txt
$ less temp.txt
ถ้ามีการใช้ไปป์ (Pipe) จะทำให้ไม่จำเป็นต้องมีไฟล์ temp.txt เราสามารถเชื่อมผลลัพธ์ของคำสั่ง grep ftp services ให้ไปเป็นอินพุตของคำสั่ง less ได้ทันที ดังนี้
$ grep ftp services | less

การเปลี่ยนเส้นทางที่ฝั่งรับข้อมูล (Input)

สัญลักษ์ที่ใช้แทนการรับข้อมูลคือ <

ตัวอย่างการใช้งาน
การเรียงข้อมูลในไฟล์ใหม่ ด้วยใช้คำสั่ง sort โดยเรานำไฟล์ที่ยังไม่มีการจัดเรียง มาเป็นอินพุต (input) ของคำสั่ง sort ดังนี้
$ cat > number

การเปลี่ยนเส้นทางที่ฝั่งแสดงผล ( Output )

สัญลักษ์ที่ใช้แทนการส่งออกข้อมูลคือ >

ตัวอย่างการใช้งาน
คำสั่ง cat โดยปกติแล้ว จะแสดงข้อมูลในไฟล์ แล้วแสดงออกมาทางจอภาพ แต่ในบางครั้ง เราต้องการให้คำสั่ง cat เขียนข้อมูลลงบนไฟล์ ตัวอย่างเช่น สร้างไฟล์ชื่อว่า faculties ไว้เก็บชื่อคณะต่างๆ เมื่อใส่รายชื่อเสร็จแล้ว ให้กดปุ่ม ^d (Ctrl + d) เพื่อบันทึกและออกจากการเขียนไฟล์
$ cat > faculties
ถ้าหากต้องการเพิ่มข้อมูลลงในไฟล์เดิม โดยที่ข้อมูลไม่หายไป (Append) ให้เปลี่ยนเส้นทางจาก > ไปเป็น >> เพื่อเป็นการระบุว่า จะทำการเขียนไฟล์ต่อจากเดิม ดังนี้
$ cat >> faculties

คำสั่ง grep

ใช้ในการค้นหาข้อความในไฟล์
รูปแบบการใช้งาน
grep 'keyword' filename
grep -i 'keyword' filename => ค้นหาแบบไม่สนใจตัวพิมพ์เล็กหรือตัวพิมพ์ใหญ่ (Non-Case Sensitive)

ตัวอย่างการใช้งาน
$ cd ~/linux-command
$ grep ssh services

คำสั่ง tail

ใช้สำหรับดูข้อมูล ที่บรรทัดล่างสุดของไฟล์
รูปแบบการใช้งาน
tail -n number-of-line filename => ดูข้อมูลที่บรรทัดล่างสุดของไฟล์แบบระบุจำนวนบรรทัด
tail -f filename => ดูข้อมูลของไฟล์นั้นๆ แบบเรียลไทม์

ตัวอย่างการใช้งาน
$ cd ~/linux-command
$ tail services

คำสั่ง less

ใช้สำหรับดูข้อมูลในไฟล์ทีละหน้าจอ
คำสั่ง less จะใช้สำหรับดูข้อมูลในไฟล์ทีละหน้าจอ สามารถใช้ปุ่ม space bar สำหรับการดูหน้าถัดไป และสามารถเลื่อนลูกศรขึ้น-ลง ได้ ถ้าต้องการออกจากหน้าจอของคำสั่ง less ให้กดปุ่ม q

ตัวอย่างการใช้งาน
$ cd ~/linux-command
$ less services

คำสั่ง cat (Concatenate)

ใช้สำหรับดูข้อมูลในไฟล์
ตัวอย่างการใช้งาน
$ cd ~/linux-command
$ cat services

คำสั่ง rm (Remove) ใช้ในการลบไฟล์ , rmdir (Remove Directory) ใช้ในการลบไดเรคเทอรี

การใช้งานคำสั่ง rm และ rmdir จะคล้ายๆ กัน ซึ่ง rmdir จะไม่สามารถลบไดเรคเทอรี ที่มีข้อมูลอยู่ข้างในได้ ต้องใช้คำสั่ง rm -r แทน ถ้าต้องการลบข้อมูลข้างในด้วย

ตัวอย่างการใช้งาน
$ cd ~/linux-command
$ cp services services.tmp
$ ls
backups services services.tmp
$ rm services.tmp
$ ls
backups services

คำสั่ง mv ( Move )

ใช้ในการย้ายที่อยู่ (Move) หรือเปลี่ยนชื่อ (Rename) ไฟล์หรือไดเรคเทอรี
รูปแบบการใช้งาน
mv source destinattion
ตัวอย่างการใช้งาน
$ mv services-org backups

คำสั่ง cp ( Copy )

ใช้ในการคัดลอกไฟล์รูปแบบคำสั่ง
cp file1 file2
ตัวอย่างการใช้งาน
$ cd ~/linux-command
$ cp /etc/services .

~ ( Home Directory )

ใช้ในการอ้างอิง Home Directory แทนพาธเต็ม
ตัวอย่างการใช้งาน
$ cd ~

คำสั่ง pwd (Print Working Directory)

ใช้ในการแสดงพาธที่อยู่ ณ ปัจจุบัน
ตัวอย่างการใช้งาน
$ pwd
/home/cp

คำสั่ง cd (Change Directory)

ใช้ในการเปลี่ยนไดเรคเทอรีที่ทำงาน
ตัวอย่างการใช้งาน
$ cd linux-command

คำสั่ง mkdir (Make Directory)

ใช้ในการสร้างไดเรคเทอรี
ตัวอย่างการใช้งาน
$ mkdir linux-command

คำสั่ง man (Manual)

ใช้สำหรับดูวิธีการใช้งานคำสั่งต่างๆ
ในการใช้งาน เราจะพิมพ์ man แล้วตามด้วยคำสั่งที่ต้องการดูรายละเอียดเพิ่มเติม ซึ่งจะมีหน้าต่างขึ้นมาแสดงขึ้นมา เมื่อจะออกจากคำสั่ง man ให้กดปุ่ม q

ตัวอย่างการใช้งาน
$ man ls

คำสั่ง ls (list)

ใช้ในการดูข้อมูลในไดเรคเทอรี
รูปแบบการใช้งาน
ls -l => ดูข้อมูลในไดเรคเทอรีแบบละเอียด
ls -a => ดูข้อมูลในไดเรคเทอรีรวมทั้งไฟล์ที่มีการซ่อนไว้ด้วย