วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คำสั่ง echo

แสดงข้อความออกทาง standard output

โครงสร้างคำสั่ง

echo [option]... msg

โดย option ที่มักใช้กันใน echo คือ
-n ไม่ต้องขึ้นบรรทัดใหม่

ตัวอย่าง

echo -n "Hello"
echo "Hi.."
free -k

คำสั่ง free

แสดงหน่วยความจำที่เหลืออยู่บนระบบ

โครงสร้างคำสั่ง
free [-b|-k|-m]
โดย option ที่มักใช้กันใน free คือ
-b แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย byte
-k แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย kilobyte
-m แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย megabyte

ตัวอย่าง

free
free -b
free -k

คำสั่ง sort

ใช้เพื่อทำการจัดเรียงข้อมูลในแฟ้มตามลำดับ (ทั้งนี้จะถือว่าข้อมูลแต่ละบรรทัดเป็น 1 record และจะใช้ field แรกเป็น key)

โครงสร้างคำสั่ง

sort [option] file

ตัวอย่าง

sort data.txt

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คำสั่ง file

บนระบบ DOS/Windows นั้น ประเภทของแฟ้มข้อมูลจะถูกระบุด้วยนามสกุล แต่ใน UNIX จะไม่มีนามสกุลเพื่อใช้ระบุประเภทของแฟ้มข้อมูล ดังนั้นการหาประเภทของแฟ้มข้อมูลจะดูจาก Context ภายในของแฟ้ม ซึ่งคำสั่ง file จะทำการอ่าน Content และบอกประเภทของแฟ้มข้อมูลนั้นๆ
โครงสร้างคำสั่ง
file [option]... file
ตัวอย่าง
file /bin/sh
file report.doc

คำสั่ง chgrp

ใช้สำหรับเปลี่ยนกลุ่มเจ้าของแฟ้มข้อมูลหรือ Directory
โครงสร้างคำสั่ง
chgrp [option]... group file
โดย option ที่มักใช้กันใน chgrp คือ
-R เปลี่ยน Permission ของทุกๆ แฟ้มย่อยใน Directory
ตัวอย่าง
chgrp users /home/krerk
chown nobody data.txt
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : chgrp --help และ man chgrp

คำสั่ง chown

ใช้สำหรับเปลี่ยนเจ้าของแฟ้มข้อมูลหรือ Directory
โครงสร้างคำสั่ง
chown [option]... owner[:group] file หรือ
chown [option]... :group file
โดย option ที่มักใช้กันใน chown คือ
-R เปลี่ยน Permission ของทุกๆ แฟ้มย่อยใน Directory
ตัวอย่าง
chown krerk:users /home/krerk
chown nobody data.txt

คำสั่ง find

ใช้ในการค้นหาไฟล์หรือไดเรคเทอรี
ตัวอย่างการใช้งาน
ค้นหาไฟล์หรือไดเรคเทอรีที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า ser โดยเริ่มค้นหาจากไดเรคเทอรีปัจจุบัน ( . )
$ cd ~/linux-command
$ find . -name "ser*" -print

คำสั่ง du

ตรวจดูการใช้พื้นท์ของไฟล์และไดเรคเทอรี
ตัวอย่างการใช้งาน
$ du -s *

คำสั่ง df

ใช้ในการตรวจดูการใช้พื้นที่ของฮาร์ดดิสก์
ตัวอย่างการใช้งาน
$ df

ไปป์ (Pipe)

เป็นการเชื่อมต่อกันระหว่าง input กับ output โดย output ของคำสั่งหนึ่ง จะเป็น input ของอีกคำสั่งหนึ่ง จะใช้สัญลักษ์เป็น | (Vertical Bar)

ตัวอย่างการใช้งาน
ตัวอย่างนี้เป็นการหาข้อความ ftp ที่อยู่ในไฟล์ services แต่เนื่องจากว่า มีข้อมูลอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถดูได้ทั้งหมดในครั้งเดียว จึงต้องมีการสร้างไฟล์ขึ้นมาชื่อว่า temp.txt เพื่อใช้ในการเก็บผลลัพธ์ จากนั้นจึงใช้คำสั่ง less เพื่อไปอ่านข้อมูลจากไฟล์ temp.txt จึงจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
$ grep ftp services > temp.txt
$ less temp.txt
ถ้ามีการใช้ไปป์ (Pipe) จะทำให้ไม่จำเป็นต้องมีไฟล์ temp.txt เราสามารถเชื่อมผลลัพธ์ของคำสั่ง grep ftp services ให้ไปเป็นอินพุตของคำสั่ง less ได้ทันที ดังนี้
$ grep ftp services | less

การเปลี่ยนเส้นทางที่ฝั่งรับข้อมูล (Input)

สัญลักษ์ที่ใช้แทนการรับข้อมูลคือ <

ตัวอย่างการใช้งาน
การเรียงข้อมูลในไฟล์ใหม่ ด้วยใช้คำสั่ง sort โดยเรานำไฟล์ที่ยังไม่มีการจัดเรียง มาเป็นอินพุต (input) ของคำสั่ง sort ดังนี้
$ cat > number

การเปลี่ยนเส้นทางที่ฝั่งแสดงผล ( Output )

สัญลักษ์ที่ใช้แทนการส่งออกข้อมูลคือ >

ตัวอย่างการใช้งาน
คำสั่ง cat โดยปกติแล้ว จะแสดงข้อมูลในไฟล์ แล้วแสดงออกมาทางจอภาพ แต่ในบางครั้ง เราต้องการให้คำสั่ง cat เขียนข้อมูลลงบนไฟล์ ตัวอย่างเช่น สร้างไฟล์ชื่อว่า faculties ไว้เก็บชื่อคณะต่างๆ เมื่อใส่รายชื่อเสร็จแล้ว ให้กดปุ่ม ^d (Ctrl + d) เพื่อบันทึกและออกจากการเขียนไฟล์
$ cat > faculties
ถ้าหากต้องการเพิ่มข้อมูลลงในไฟล์เดิม โดยที่ข้อมูลไม่หายไป (Append) ให้เปลี่ยนเส้นทางจาก > ไปเป็น >> เพื่อเป็นการระบุว่า จะทำการเขียนไฟล์ต่อจากเดิม ดังนี้
$ cat >> faculties

คำสั่ง grep

ใช้ในการค้นหาข้อความในไฟล์
รูปแบบการใช้งาน
grep 'keyword' filename
grep -i 'keyword' filename => ค้นหาแบบไม่สนใจตัวพิมพ์เล็กหรือตัวพิมพ์ใหญ่ (Non-Case Sensitive)

ตัวอย่างการใช้งาน
$ cd ~/linux-command
$ grep ssh services

คำสั่ง tail

ใช้สำหรับดูข้อมูล ที่บรรทัดล่างสุดของไฟล์
รูปแบบการใช้งาน
tail -n number-of-line filename => ดูข้อมูลที่บรรทัดล่างสุดของไฟล์แบบระบุจำนวนบรรทัด
tail -f filename => ดูข้อมูลของไฟล์นั้นๆ แบบเรียลไทม์

ตัวอย่างการใช้งาน
$ cd ~/linux-command
$ tail services

คำสั่ง less

ใช้สำหรับดูข้อมูลในไฟล์ทีละหน้าจอ
คำสั่ง less จะใช้สำหรับดูข้อมูลในไฟล์ทีละหน้าจอ สามารถใช้ปุ่ม space bar สำหรับการดูหน้าถัดไป และสามารถเลื่อนลูกศรขึ้น-ลง ได้ ถ้าต้องการออกจากหน้าจอของคำสั่ง less ให้กดปุ่ม q

ตัวอย่างการใช้งาน
$ cd ~/linux-command
$ less services

คำสั่ง cat (Concatenate)

ใช้สำหรับดูข้อมูลในไฟล์
ตัวอย่างการใช้งาน
$ cd ~/linux-command
$ cat services

คำสั่ง rm (Remove) ใช้ในการลบไฟล์ , rmdir (Remove Directory) ใช้ในการลบไดเรคเทอรี

การใช้งานคำสั่ง rm และ rmdir จะคล้ายๆ กัน ซึ่ง rmdir จะไม่สามารถลบไดเรคเทอรี ที่มีข้อมูลอยู่ข้างในได้ ต้องใช้คำสั่ง rm -r แทน ถ้าต้องการลบข้อมูลข้างในด้วย

ตัวอย่างการใช้งาน
$ cd ~/linux-command
$ cp services services.tmp
$ ls
backups services services.tmp
$ rm services.tmp
$ ls
backups services

คำสั่ง mv ( Move )

ใช้ในการย้ายที่อยู่ (Move) หรือเปลี่ยนชื่อ (Rename) ไฟล์หรือไดเรคเทอรี
รูปแบบการใช้งาน
mv source destinattion
ตัวอย่างการใช้งาน
$ mv services-org backups

คำสั่ง cp ( Copy )

ใช้ในการคัดลอกไฟล์รูปแบบคำสั่ง
cp file1 file2
ตัวอย่างการใช้งาน
$ cd ~/linux-command
$ cp /etc/services .

~ ( Home Directory )

ใช้ในการอ้างอิง Home Directory แทนพาธเต็ม
ตัวอย่างการใช้งาน
$ cd ~

คำสั่ง pwd (Print Working Directory)

ใช้ในการแสดงพาธที่อยู่ ณ ปัจจุบัน
ตัวอย่างการใช้งาน
$ pwd
/home/cp

คำสั่ง cd (Change Directory)

ใช้ในการเปลี่ยนไดเรคเทอรีที่ทำงาน
ตัวอย่างการใช้งาน
$ cd linux-command

คำสั่ง mkdir (Make Directory)

ใช้ในการสร้างไดเรคเทอรี
ตัวอย่างการใช้งาน
$ mkdir linux-command

คำสั่ง man (Manual)

ใช้สำหรับดูวิธีการใช้งานคำสั่งต่างๆ
ในการใช้งาน เราจะพิมพ์ man แล้วตามด้วยคำสั่งที่ต้องการดูรายละเอียดเพิ่มเติม ซึ่งจะมีหน้าต่างขึ้นมาแสดงขึ้นมา เมื่อจะออกจากคำสั่ง man ให้กดปุ่ม q

ตัวอย่างการใช้งาน
$ man ls

คำสั่ง ls (list)

ใช้ในการดูข้อมูลในไดเรคเทอรี
รูปแบบการใช้งาน
ls -l => ดูข้อมูลในไดเรคเทอรีแบบละเอียด
ls -a => ดูข้อมูลในไดเรคเทอรีรวมทั้งไฟล์ที่มีการซ่อนไว้ด้วย