วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การติดตั้ง VHCS 2.4.7.1

1. แก้ไข /etc/apt/sources.list โดยเพิ่ม
Quote
deb http://apt.scunc.org/ sarge main

2. #apt-get update

3. #apt-get install mysql-server-4.1

4. #apt-get install vhcs

Quote
DEFAULT_ADMIN_ADDRES = your email
SERVER_HOSTNAME = your hostname
BASE_SERVER_IP = your ip
DATABASE_TYPE = mysql
DATABASE_HOST = localhost
DATABASE_NAME = vhcs2
DATABASE_PASSWORD = vhcs2
DATABASE_USER = vhcs

system hostname: your hostname เช่น debian
system network address: your ipaddress เช่น 192.168.0.128
SQL server host: localhost
system SQL database: vhcs2
system SQL user: vhcs2
system SQL password: vhcs2
repeat system SQL password: vhcs2
VHCS ftp SQL user: vftp
VHCS ftp SQL user password: vftp
repeat VHCS ftp SQL user password: vftp
administrator login name: admin
administrator password: your password
repeat administrator password: your password
administrator email address: your email address


5. #apt-get remove apache-common
เนื่องด้วยมันเป็น apache1.3 ซึ่งเราไม่ต้องการจึงต้องทำการลบออกไปซะ รองรับ php3 จะเอาไปทำอันหยัง

6. http://localhost/vhcs2
หากเรียกจากวินโดวส์ผ่าน vmware ต้องใช้เป็น http://your ipaddress/vhcs2 เช่น http://192.168.1.1/vhcs2

การใช้ Pico editor

หากคุณมีความรู้สึกว่า vi มีความยุ่งยากในการใช้งาน และต้องการที่จะใช้เอดิเตอร์ที่มีลักษณะการทำงานที่ง่ายกว่า โปรแกรม pico น่าจะเป็นเอดิเตอร์ที่น่าสนใจสำหรับคุณ ได้ หากคุณเคยใช้ pine ในการส่งอีเมล์แล้ว จะเห็นได้ว่าหน้าจอของ pico นั้นคล้ายคลึงกับ โปรแกรม pine เป็นอย่างมาก
การเรียกใช้ pico สามารถทำได้ดังนี้

pico [ชื่อไฟล์]

เมื่อคุณเรียกใช้ pico โปรแกรมจะมีลักษณะเป็น full screen editor และมีการใช้งาน
ที่ค่อนข้างง่าย คุณสามารถใช้ปุ่มลูกศร, ปุ่ม PgUp , PgDn ในการเลื่อนบรรทัดขึ้นลงได้
และยังแสดงปุ่มพิเศษที่ต้องใช้บ่อย ๆ ที่ด้านล่างของจอภาพด้วย เช่น ปุ่มบันทึกข้อมูลลงไฟล์
( ^O ) , ปุ่มแสดงข้อความช่วยเหลือ ( ^G ) หรือปุ่มจบโปรแกรม ( ^X ) เป็นต้น
ปกติปุ่มฟังก์ชั่นพิเศษที่ใช้ใน pico นั้น จะมีวิธีการใช้งานในลักษณะของการกดปุ่ม
ควบคู่กับปุ่ม Control เช่น ปุ่มแสดงความช่วยเหลือ จะต้องกดปุ่ม Ctrl-G เมื่อลองกดปุ่มนี้
แล้วก็จะปรากฏหน้าต่างแสดงความช่วยเหลือขึ้นมา การจะเลื่อนให้ pico แสดงข้อความ
ช่วยเหลือหน้าถัดไปจะต้องกดปุ่ม Ctrl-V ถ้าจะดูหน้าย้อนกลับหรือทำหน้าที่ผ่านไปแล้วจะ
ต้องกดปุ่ม Ctrl-Y และถ้าจะออกจากหน้าจอแสดงความช่วยเหลือก็ให้กดปุ่ม Ctrl-X คุณจะสามารถอ่านคำอธิบายความหมายของปุ่มพิเศษเหล่านี้ได้จากหน้าจอแสดงความช่วยเหลือ
ปุ่มฟังก์พิเศษอื่น ๆ ที่น่าสนใจใน pico
Ctrl – X (F2) ออกจากโปรแกรม pico ( ถ้ามีการแก้ไขจะถามว่าบันทึกไฟล์ หรือไม่ )
Ctrl – O (F3) บันทึกไฟล์
Ctrl – J (F4) เชื่อมบรรทัดอื่นให้เป็นบรรทัดเดียวกัน
Ctrl – R (F5) อ่านไฟล์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของข้อความที่กำลังแก้ไข เมื่อกด
ปุ่มนี้จะให้คุณใส่ชื่อไฟล์ที่ต้องการ หรือคุณสามารถกดปุ่ม
Ctrl – T เพื่อเลือกไฟล์ที่ต้องการได้ โดยเมื่อกดปุ่ม Ctrl – T
แล้วจะเข้าสู่โหมดของ Browser ซึ่งในโหมดนี้คุณสามารถใช้
ปุ่มลูกศรในการเลือกไฟล์ต่าง ๆ ได้ เมื่อได้ไฟล์ที่ต้องการแล้วก็กดปุ่ม Enter : pico ก็จะแทรกไฟล์ที่เราเลือกไว้เข้าไปในไฟล์เดิมตรงบรรทัดที่เคอร์เซอร์อยู่ และในโหมดของ Browser นี้ ทางตอนล่างก็จะมีรายชื่อ function key ต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือในการใช้งานเช่นเดียวกับหน้าจอหลักของ pico
Ctrl – W (F6) ค้นหาคำที่ต้องการ
Ctrl - ^ ระบายแถบสีเลือกข้อความที่ต้องการ
Ctrl – K (F9) ตัดข้อความที่เลือกไว้ นำไปเก็บในบัฟเฟอร์
Ctrl – U นำข้อความที่อยู่ในบัฟเฟอร์ ออกมาใส่กลับไปในข้อความตรง
ตำแหน่งที่เคอร์เซอร์อยู่ เหมือนกับการ Paste นั่นเอง
Ctrl – C (F11) บอกตำแหน่งปัจจุบันของเคอร์เซอร์
Ctrl – T (F12) เรียกตัวตรวจสอบการสะกดคำ โดยเมื่อกดปุ่ม Ctrl – T แล้วโปรแกรมตรวจสอบการสะกดคำจะตรวจสอบตำต่าง ๆ และหากพบคำที่คาดว่าผิดก็จะแสดงแถบสีตรงคำนั้นและแสดง
prompt ว่า Edit a replacement [ คำที่คาดว่าสะกดผิด ] ซึ่คุณสามารถแก้ไขคำนั้น ได้เลย หรือหากไม่ต้องการแก้ไขก็เคาะ Enter ผ่านไปได้เลย การออกจากโหมดตรวจสอบการสะกดคำนี้ทำได้โดยการกดปุ่ม Ctrl – C
Ctrl – B เลื่อนเคอร์เซอร์กลับไปหนึ่งตัวอักษร
Ctrl – F เลื่อนเคอร์เซอร์ไปข้างหน้าหนึ่งตัวอักษร
Ctrl – P เลื่อนเคอร์เซอร์ย้อนกลับไปหนึ่งบรรทัด
Ctrl – N เลื่อนเคอร์เซอร์ไปบรรทัดถัดไป
Ctrl – A เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังต้นบรรทัด
Ctrl – E เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังท้ายบรรทัด
Ctrl – L รีเฟรชหน้าจอการแสดงผล

การใช้งาน vi

เริ่มต้นใช้งาน
ให้เราพิมพ์ดังนี้ครับ vi ในกรณีเปิดไฟล์ใหม่ แต่ถ้ามีไฟล์เดิมอยู่แล้วก็ให้พิมพ์ vi filename (filename คือชื่อไฟล์ที่เราต้องการจะเปิด)

การใช้งาน
เมื่อเราเปิดโปรแกรม vi ขึ้นมาแล้วอยากพิมพ์ข้อความ เราก็สามารถทำได้ดังนี้ครับ ให้กดปุ่ม I เพื่อทำให้ vi อยู่ในสถานะ Insert Mode ก่อน จากนั้นก็ทำการพิมพ์ข้อความที่ต้องการได้เลยครับ และเพื่อทำให้การพิมพ์ข้อความราบรื่น ผมมีตารางการใช้งานของคำสั่งใน vi มาให้ดูครับ

กดปุ่ม ความหมาย
i, I พิมพ์ข้อความ ณ ตำแหน่งที่เคอร์เซอร์อยู่
A พิมพ์ข้อความต่ออักษรสุดท้ายของบรรทัดที่เคอร์เซอร์อยู่
a พิมพ์ข้อความต่อยังตำแหน่งของเคอร์เซอร์
ปุ่ม insert เปลี่ยนสถานะ พิมพ์ทับ/พิมพ์แทรก
dd ลบข้อความ 1 บรรทัด ที่เคอร์เซอร์อยู่
dw ลบคำหนึ่งคำที่เคอร์เซอร์อยู่
x ลบตัวอักษรที่เคอร์เซอร์อยู่
D ลบตัวอักษรที่เคอร์เซอร์อยู่จนสุดบรรทัด
O เลื่อนบรรทัดที่เคอร์เซอร์อยู่ลง 1 บรรทัด และอยู่ในสถานะ insert
o เลื่อนบรรทัดล่างที่เคอร์เซอร์อยู่ลง 1 บรรทัด และอยู่ในสถานะ insert
l เลื่อนเคอร์เซอร์ไปทางขวา
h เลื่อนเคอร์เซอร์ไปทางซ้าย
k เลื่อนอักษรขึ้นบน
j เลื่อนอักษรลงล่าง
^, home เลื่อนเคอร์เซอร์ไปต้นบรรทัด
$, end เลื่อนเคอร์เซอร์ไปท้ายบรรทัด
w เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังตัวอักษรแรกของตัวถัดไป
b เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังตัวอักษรแรกของคำปัจจุบัน
e เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังตัวอักษรสุดท้ายของคำ
Ctrl+d เลื่อนจอภาพลงครั้งละครึ่งจอภาพ
Ctrl+u เลื่อนจอภาพขึ้นครั้งละจอภาพ
u ยกเลิกการทำงานคำสั่งที่ผ่านมา หรือ undo นั้นเอง
/text ค้นหาข้อความคำว่า text จากบนลงล่าง
?text ค้นหาข้อความคำว่า text จากล่างขึ้นบน
:w ทำการ Save ไฟล์ปัจจุบันที่เปิดใช้งาน
:wq Save ไฟล์งานแล้วออกจากโปรแกรม
:wq fn Save ไฟล์งานโดยตั้งชื่อว่า fn แล้วออกจากโปรแกรม
:q! ออกจากโปรแกรมโดยไม่ทำการบันทึกไฟล์งาน


การใช้งานโปรแกรม VI เราจำเป็นที่จะต้องเข้าใจสถานะ ของโปรแกรมว่าเราทำงานอยู่ในสถานะไหน ดังนั้นเราจำเป็นที่จะต้องสังเกตที่มุมล่างซ้ายให้ดีว่าเราอยู่ใน insert mode หรือ command mode และวิธีการสลับการใช้งานของ mode ทั้งสองเราสามารถกดปุ่ม Esc เพื่อทำการสลับ Mode ได้เลย

ความรู้เกี่ยวกับ IPCop

IPCop เป็น Linux Open Source ที่พัฒนาขึ้นมาเผยแพร่ภายใต้ GNU General Public License และมีเป้าหมายเน้นทางด้านระบบความปลอดภัยของเครือดังข้อความที่ว่า "The Bad Packets Stop Here" เพราะฉะนั้นจึงเหมาะมากที่จะนำมาพัฒนาเป็น Firewall อย่างไรก็แล้วแต่ สำหรับผู้ใช้ที่ไม่ต้องการเน้นเรื่องของ Firewall มากนักเช่นองค์กรขนาดเล็กที่เน้นเรื่องของการทำ Proxy (Squid) หรือทำ NAT เพื่อให้เครื่องลูกข่ายภายในสำนักงานสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ นอกจากนี้Linux ตัวนี้น่านำมาใช้มากครับ เพราะมีขนาดเล็ก (40 MB) กินทรัพยากรน้อย การคอนฟิกก็ง่ายมากเพราะสามารถคอนฟิกผ่าน Browser ได้ การเปิดบริการ Proxy ก็ไม่ยุ่งยากเมื่อติดตั้งเสร็จแล้วสามารถใช้งาน Proxy ได้เลย โดยเฉพาะถ้าต้องการใช้งาน Transparent Proxy ก็ง่ายมากเลยแค่คลิกที่เดียวก็สามารถทำได้แล้ว ในส่วนของ NAT ติดตั้งเสร็จก็มีการทำ NAT ไว้ให้แล้วเช่นกัน

IPCop ได้ออกแบบระบบโดยกำหนด Network Interface เป็นรูปแบบของโทนสีจำนวน 4 สี (4 Network Interface) ดังนี้
- RED Network Interface เครือข่ายส่วนนี้เป็น Internet หรือ Untrusted Network จุดประสงค์หลักของ IPCop คือเพื่อป้องกันเครือข่าย (คอมพิวเตอร์) ในส่วนที่เป็น GREEN , BLUE และ ORANGE จากทราฟฟิกที่มาจาก RED Network
- GREEN Network Interface อินเตอร์เฟสนี้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ภายในซึ่งเป็นส่วนที่มีการป้องกันจาก IPCop
- BLUE Network เครือข่ายส่วนนี้เป็นออพชันให้ผู้ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่เป็น Wireless ที่เป็นเครือข่ายแยก (seperate network) ซึ่งคอมพิวเตอร์ในส่วนนี้ไม่สามารถติดต่อกับเครือข่าย GREEN ได้เว้นเสียแต่ถูกควบคุมแบบ "pinhole" หรือผ่าน VPN ทราฟฟิกที่จะมายังเครือข่ายนี้ถูก route ผ่าน Ethernet NIC
- ORANGE Network เครือข่ายส่วนนี้เป็นออพชันที่อนุญาตให้ผู้ใช้วางเซิร์ฟเวอร์ที่สาธารณสามารถเข้าถึงได้เป็นแบบแยก (seperate network) คอมพิวเตอร์ในส่วนนี้ไม่สามารถติดต่อกับ GREEN หรือ BLUE ได้ เว้นเสียแต่ถูกควบคุมโดย DMZ pinholes ทราฟฟิกที่เข้ามาเครือข่ายนี้ถูก route ผ่าน Ethernet NIC