วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553

คู่มือ WEB SEVER UBUNTU 9.10 KARMIC แบบ GUI GRAPHIC



-การติดตั้ง mysql50-server
-การติดตั้ง Apache22
-การติดตั้ง PHP5
-การติดตั้ง Web Server Apache2
-การติดตั้ง PHP5
-การติดตั้ง PhpMyadmin
-การติดตั้ง Drupal 6.15 CMS
-การ Config ADSL
-การติดตั้ง dyndns

Download ได้ที่ Link ด้านล่าง
คู่มือ WEB SEVER UBUNTU 9.10 KARMIC แบบ GUI GRAPHIC

UBUNTU SERVER แยกเน็ตแยกเกมส์ขาด 100%



Download ได้ที่ Link ด้านล่าง
UBUNTU SERVER แยกเน็ตแยกเกมส์ขาด 100%

คู่มือสอนการติดตั้ง Ture Hotspot WiFi On Ubuntu



-การติด ตั้ง LAMP
-การติดตั้ง SSH Server
-การติด ตั้ง DNS Server
-การติดตั้ง Radius Server และ Database
-การติดตั้ง CoovaChilli
-การติดตั้ง Firewall
-การติดตั้ง SSL
-การติดตั้ง Module
-การสราง Virtualhost
-การติด ตั้ง Daloradius 0.9.8
-เพิ่มหนา login ของ Hotspot อย่าง TureSoft
Download ได้ที่ Link ด้านล่าง
คู่มือสอนการติดตั้ง Ture Hotspot WiFi On Ubuntu

คู่มือสอนการติดตั้ง FreeBSD WebServer



-การ ติดตั้ง Compile Kernel เพื่อรองรับ Firewall และ Quota
-การ Update ports tree
-การติดตั้ง Firewall
-การทำ Quota
-การติดตั้ง mysql50-server
-การติดตั้ง Apache22
-การติดตั้ง PHP5
-การติดตั้ง Web Server Apache2
-การติดตั้ง PHP5
-การติดตั้ง PHP5-extensions
-การติดตั้ง Webmin
-การติดตั้ง PhpMyadmin
-การติดตั้ง Vsftp
-การติด ตั้ง Awstats
-การติดตั้ง Ntp
-การติดตั้ง Clamav
-การติด ตั้ง Hostsentry
-การติดตั้ง Portsentry
-การติดตั้ง Lynx
-การ ติดตั้ง Phpbb9 -การทํา Backup Web
-การติดตั้ง Denyhosts
Download ได้ที่ Link ด้านล่าง
คู่มือสอนการติดตั้ง FreeBSD WebServer

คู่มือสอนการติดตั้ง Authentication



-การติดตั้ง Ubuntu
-การติดตั้ง Chilli
-การติดตั้ง Freeradius
-การติดตั้ง Mysql
-การติดตั้ง Apache
-การติดตั้ง PHP
Download ได้ที่ Link ด้านล่าง

คู่มือสอนการติดตั้ง Authentication

วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553

Patch ภาษาไทยฉบับปรับปรุงสำหรับ KDE 4.2.2 และ 4.3.1

ได้ลอง build KDE รุ่น 4.2.2. และ 4.3.1 เลยพบว่า patch ที่ทำไว้เดิมตั้งแต่สมัย 4.1 เหมือนต้องปรับแก้นิดหน่อย จึงได้ปรับแก้ไว้แล้วที่
TLWG SVN

* kdelibs-4.3.1
* kdebase-4.3.1

และมี deb packages สำหรับ Ubuntu 9.04 (jaunty) และ 9.10 (karmic) ด้วยเพื่อใครจะลองด้วยความรวดเร็ว โดยดูดได้ที่ LTN Apt ครับ

ส่วน Qt 4.5.2 ลองแล้วก็ build ได้ไม่มีปัญหาอะไรครับ ด้วย patches เหล่านี้จะทำให้ภาษาไทยใช้งานได้ดี (input/output, ตัดคำ, konsole, kwrite) ซึ่ง patches เหล่านี้เกิดขึ้นในโครงการ Suriyan (หลักๆ โดยคุณ Golf MM และให้คำปรึกษาโดยคุณ thep) ของ SIPA ดู รายละเอียดงานพัฒนา

อนาคตของลีนุกซ์

ลีนุกซ์นั้นมีนักพัฒนาโปรแกรมจากทั่วโลกช่วยกันทำให้การขยายตัวของลี นุกซ์เป็นไปอย่างรวดเร็วโดยในส่วนของแกนระบบปฏิบัติการ หรือเคอร์เนลนั้นจะมีการพัฒนาเป็นรุ่นที่ 2.2 (Linux Kernel 2.2) ซึ่งได้เพิ่มขีดความสามารถและสนับ สนุนการทำงานแบบหลายตัวประมวลผลแบบ SMP (Symmetrical Multi Processors) ซึ่งทำให้ระบบลีนุกซ์สามารุนำไปใช้สำหรับทำงานเป็น เซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ได้ และยังมีโครงการสนับ สนุนการใช้งานบรระบบลีนุกซ์อีกหลายโครงการ เช่น KDE (The K Desktop Environment) และ GNOME (GNU Network Object Model Environment) ซึ่งจะช่วยพัฒนา desktop บนลีนุกซ์ให้สมบูรณ์เทียบเท่า กับ Windows 98 ของไมโครซอฟท์ และบรรดาบริษัทผู้ผลิตซอฟท์แว ร์ทางด้านระบบฐานข้อมูลชั้นนำ อย่างเช่น Informix, Oracle, IBM DB2 ก็เริ่มให้มีสนับสนุนการใช้งานบนระบบลี นุกซ์ แล้วเช่นเดียวกัน

เตรียมความพร้อมก่อนใช้ลีนุกซ์

ก่อนที่จะทำการติดตั้งก็ต้องเตรียมความพร้อมทาง ด้านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เป็นที่เรียบร้อยก่อน ระบบลีนุกซ์ต้องการฮาร์ดแวร์ที่มีคุณสม บัต ิขั้นต่ำสุดดังต่อไปนี้
1. หน่วยประมวลผลกลางของ Intel 80386 ขึ้นไป
2. หน่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์ มีหรือไม่มีก็ได้ เพราะระบบปฏิบัติการ Red Hat Linux ได้มีการจำลอง หน่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์ไว้ในระดับของ เคอร์เนล (Kernel) แล้ว
3. หน่วยความจำอย่างน้อย 8 เมกะไบต์ แต่แนะนำให้มีอย่างน้อย 16 เมกะไบต์จะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า
4. ฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย 101 เมกะไบต์ สำหรับการติดตั้งแบบพื้นฐาน 266 เมกะไบต์ สำหรับการติดตั้งแบบทั่วไป และ 716 เมกะไบต์ สำหรับการติดตั้งแบบทั้งหมดตัวเลขที่ระบุทั้งหมดเฉพาะส่วนระบบปฏิบัติการ ถ้าต้องการใช้เป็น File Server หรือ Database Server จะ ต้องเผื่อเนื้อที่ไว้สำหรับใช้งานด้วย ส่วนแหล่งของโปรแกรมลีนุกซ์นั้นสามารถหาได้ฟรีตาม เว็บไซท์ เช่น www.linux.org/dist/ftp.html

สิ่งที่ควรทราบก่อนการติดตั้ง

1. คุณสมบัติของฮาร์ดดิสก็ที่ต้องการติดตั้ง
* จำนวนของฮาร์ดดิสก็ที่ต้องการติดตั้ง
* ขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ที่จะใช้ในการติดตั้ง
* ประเภทการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์ที่จะใช้ในการติดตั้ง IDE, EIDE หรือ SCSI
* มีการใช้ประเภทการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์ หลายๆ ประเภทในเครื่องเดียวกันหรือไม่
2. ขนาดของหน่วยความจำหลัก เพื่อที่จะคำนวณหาขนาดของ Linux Swap Partition
3. ประเภทการเชื่อมต่อของเครื่องอ่านซีดีรอม IDE (ATAPI), SCSI
4. รุ่นและยี่ห้อของแผงวงจรเชื่อมต่อ SCSI
5. รุ่นและยี่ห้อของแผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย
6. จำนวนปุ่มกด และประเภทเชื่อมต่อของเมาส์
7. รุ่นและยี่ห้อของแผงวงจรเชื่อมต่อจอภาพ รุ่นและยี่ห้อของจอภาพ
8. รายละเอียดการกำหนดโปรโตคอล TCP/IP ของเครื่องที่ต้องการติดตั้ง
* IP Address
* Net Mask
* GateWay Address
* Name Server Address
* Domain Name
* Host Name

การนำลีนุกซ์มาใช้งาน

ปัจจุบันได้มีการนำระบบปฏิบัติการลี นุกซ์ไปประยุกต์เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับงานด้านต่างๆ เช่นงานด้านการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ใช้เป็นสถานีงาน สถานีบริการ อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือใช้ใน การเรียนการสอนและการทำ งิจัยทางคอมพิวเตอร์ใช้พัฒนาโปรแกรมเนื่องจาก มีเครื่องมือมากมาย เช่น โปรแกรมภาษาซี (C) ซีพลัสพลัส (C++) ปาสคาล (Pascal) ฟอร์แทรน (Fortran) ลิสป์ (Lisp) โปรล็อก (Prolog) เอดา (ADA) มีภาษาสคริปต์ เช่น เชลล์ (Shell) บาสช์เชลล์ (Bash Shell) ซีเชลล์ (C Shell) คอร์นเชลล์ (Korn Shell) เพิร์ล (Perl) พายตัน (python) TCL/TK
นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมประยุกต์ในสาขาต่างๆ อีกมากมาย โดยข้อมูลของโปรแกรมเหล่านี้ได้รวบรวมไว้ที่ Linux Software Map (LSM)