วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การใช้ Pico editor

หากคุณมีความรู้สึกว่า vi มีความยุ่งยากในการใช้งาน และต้องการที่จะใช้เอดิเตอร์ที่มีลักษณะการทำงานที่ง่ายกว่า โปรแกรม pico น่าจะเป็นเอดิเตอร์ที่น่าสนใจสำหรับคุณ ได้ หากคุณเคยใช้ pine ในการส่งอีเมล์แล้ว จะเห็นได้ว่าหน้าจอของ pico นั้นคล้ายคลึงกับ โปรแกรม pine เป็นอย่างมาก
การเรียกใช้ pico สามารถทำได้ดังนี้

pico [ชื่อไฟล์]

เมื่อคุณเรียกใช้ pico โปรแกรมจะมีลักษณะเป็น full screen editor และมีการใช้งาน
ที่ค่อนข้างง่าย คุณสามารถใช้ปุ่มลูกศร, ปุ่ม PgUp , PgDn ในการเลื่อนบรรทัดขึ้นลงได้
และยังแสดงปุ่มพิเศษที่ต้องใช้บ่อย ๆ ที่ด้านล่างของจอภาพด้วย เช่น ปุ่มบันทึกข้อมูลลงไฟล์
( ^O ) , ปุ่มแสดงข้อความช่วยเหลือ ( ^G ) หรือปุ่มจบโปรแกรม ( ^X ) เป็นต้น
ปกติปุ่มฟังก์ชั่นพิเศษที่ใช้ใน pico นั้น จะมีวิธีการใช้งานในลักษณะของการกดปุ่ม
ควบคู่กับปุ่ม Control เช่น ปุ่มแสดงความช่วยเหลือ จะต้องกดปุ่ม Ctrl-G เมื่อลองกดปุ่มนี้
แล้วก็จะปรากฏหน้าต่างแสดงความช่วยเหลือขึ้นมา การจะเลื่อนให้ pico แสดงข้อความ
ช่วยเหลือหน้าถัดไปจะต้องกดปุ่ม Ctrl-V ถ้าจะดูหน้าย้อนกลับหรือทำหน้าที่ผ่านไปแล้วจะ
ต้องกดปุ่ม Ctrl-Y และถ้าจะออกจากหน้าจอแสดงความช่วยเหลือก็ให้กดปุ่ม Ctrl-X คุณจะสามารถอ่านคำอธิบายความหมายของปุ่มพิเศษเหล่านี้ได้จากหน้าจอแสดงความช่วยเหลือ
ปุ่มฟังก์พิเศษอื่น ๆ ที่น่าสนใจใน pico
Ctrl – X (F2) ออกจากโปรแกรม pico ( ถ้ามีการแก้ไขจะถามว่าบันทึกไฟล์ หรือไม่ )
Ctrl – O (F3) บันทึกไฟล์
Ctrl – J (F4) เชื่อมบรรทัดอื่นให้เป็นบรรทัดเดียวกัน
Ctrl – R (F5) อ่านไฟล์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของข้อความที่กำลังแก้ไข เมื่อกด
ปุ่มนี้จะให้คุณใส่ชื่อไฟล์ที่ต้องการ หรือคุณสามารถกดปุ่ม
Ctrl – T เพื่อเลือกไฟล์ที่ต้องการได้ โดยเมื่อกดปุ่ม Ctrl – T
แล้วจะเข้าสู่โหมดของ Browser ซึ่งในโหมดนี้คุณสามารถใช้
ปุ่มลูกศรในการเลือกไฟล์ต่าง ๆ ได้ เมื่อได้ไฟล์ที่ต้องการแล้วก็กดปุ่ม Enter : pico ก็จะแทรกไฟล์ที่เราเลือกไว้เข้าไปในไฟล์เดิมตรงบรรทัดที่เคอร์เซอร์อยู่ และในโหมดของ Browser นี้ ทางตอนล่างก็จะมีรายชื่อ function key ต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือในการใช้งานเช่นเดียวกับหน้าจอหลักของ pico
Ctrl – W (F6) ค้นหาคำที่ต้องการ
Ctrl - ^ ระบายแถบสีเลือกข้อความที่ต้องการ
Ctrl – K (F9) ตัดข้อความที่เลือกไว้ นำไปเก็บในบัฟเฟอร์
Ctrl – U นำข้อความที่อยู่ในบัฟเฟอร์ ออกมาใส่กลับไปในข้อความตรง
ตำแหน่งที่เคอร์เซอร์อยู่ เหมือนกับการ Paste นั่นเอง
Ctrl – C (F11) บอกตำแหน่งปัจจุบันของเคอร์เซอร์
Ctrl – T (F12) เรียกตัวตรวจสอบการสะกดคำ โดยเมื่อกดปุ่ม Ctrl – T แล้วโปรแกรมตรวจสอบการสะกดคำจะตรวจสอบตำต่าง ๆ และหากพบคำที่คาดว่าผิดก็จะแสดงแถบสีตรงคำนั้นและแสดง
prompt ว่า Edit a replacement [ คำที่คาดว่าสะกดผิด ] ซึ่คุณสามารถแก้ไขคำนั้น ได้เลย หรือหากไม่ต้องการแก้ไขก็เคาะ Enter ผ่านไปได้เลย การออกจากโหมดตรวจสอบการสะกดคำนี้ทำได้โดยการกดปุ่ม Ctrl – C
Ctrl – B เลื่อนเคอร์เซอร์กลับไปหนึ่งตัวอักษร
Ctrl – F เลื่อนเคอร์เซอร์ไปข้างหน้าหนึ่งตัวอักษร
Ctrl – P เลื่อนเคอร์เซอร์ย้อนกลับไปหนึ่งบรรทัด
Ctrl – N เลื่อนเคอร์เซอร์ไปบรรทัดถัดไป
Ctrl – A เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังต้นบรรทัด
Ctrl – E เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังท้ายบรรทัด
Ctrl – L รีเฟรชหน้าจอการแสดงผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น